วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระราชกรณียกิจ ด้านการพัฒนาชนบท


สิ่งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงและทรงหาวิธีการแก้ไขอยู่ก็คือ เรื่องการพัฒนาชนบทให้เจริญก้าวหน้า เพราะทรงทราบดีว่ามีข้อจำกัดและมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ มาก ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของราษฎรในท้องถิ่น ที่สำคัญคือชาวชนบทขาดความรู้ความสามารถ และสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เกษตรกรขาดความรู้ ในเรื่องการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อย่างมีหลักวิชา รวมทั้งอุปสรรคปัญหาอื่น ๆ เช่นขาดที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ขาดแคลนแหล่งน้ำที่จะใช้ทำการเกษตรและใช้อุปโภคบริโภคเป็นต้น แต่ด้วยพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือราษฎรให้พ้นหรือบรรเทาจากความเดือดร้อน


ดังนั้น แนวพระราชดำริที่จะช่วยพัฒนาชนบทจึงออกมาในรูปของโครงการต่าง ๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีลักษณะแต่ละโครงการแตกต่างกันออกไปตามปัญหาและสภาพภูมิประเทศในแต่ละ แห่ง แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ การพัฒนาบทเพื่อให้ราษฎรในชนบทได้มีความเป็นอยู่ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพ เลี้ยงครอบครัวให้ดีขึ้น แนวพระราชดำริที่สำคัญในเรื่องการพัฒนาชนบท คือมีพระราชประสงค์ที่จะมุ่งช่วยให้ชาวชนบทนั่นเองได้สามารถช่วยเหลือพึ่งตน เองได้ จะสังเกตเห็นได้ว่าโครงการต่าง ๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ขยายตัวครอบคลุมพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของประเทศนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญประการสุดท้ายก็คือทำให้ชาวชนบทสามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้ง สิ้น ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านนี้โดยการสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อการ ผลิตให้แก่ราษฎรเหล่านั้น อันจะเป็นรากฐานที่จะนำพาไปสู่การพึ่งตนเองได้ในที่สุด ในเวลาเดียวกันก็ทรงส่งเสริมให้ชาวชนบทได้มีความรู้ในเรื่องของการประกอบ อาชีพอย่างถูกวิธี โดยเผยแพร่ความรู้นั้นแก่ชาวชนบทอย่างค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะที่เป็นระบบ อย่างต่อเนื่อง และให้สอดคล้องแก่ความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเรื่องการพัฒนาชนบทนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือหลายชนิด

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจะเป็นโครงการเกี่ยวกับปรับปรุงถนนหนทาง การก่อสร้างถนนเพื่อการ สัญจรไปมาได้สะดวกและทั่วถึง การคมนาคมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ สำคัญของการนำความเจริญไปสู่ชนบท การสื่อสาร ติดต่อที่ดียังผล สำคัญทำให้เศรษฐกิจของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น ราษฎรก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการพัฒนาชนบทนั้น การคมนาคม เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่จะมองข้ามไปเสียมิได้ เพราะเป็นเสมือนประตูเชื่อม ระหว่างในเมือง และชนบท ดังนั้น การที่จะเริ่มโครงการพัฒนาใด ๆ นั้นจะต้องเริ่มจากการปรับปรุง และการก่อสร้างถนนหนทางเป็นการเปิดประตูนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทุกหนแห่งไม่ว่าดินแดนแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด ไม่ว่าใกล้ไกลแค่ไหน พระองค์จัดทำโครงการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริควบคู่ไปในทุก ๆ ด้าน ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง พระองค์มีจุดประสงค์เดียวคือ เพื่อขจัดความทุกข์ยากของชาวชนบท และสนับสนุนส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาสังคมเมืองให้ดีขึ้น โดยจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริหลายโครงการที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ



Royal projects


History

          Bhumibol has been involved in many social and economic development projects. The nature of his involvement has varied by political regime."The development of the country must be fostered in stages. It must start with the construction of infrastructure, that is, the provision of food and basic necessities for the people by methods which are economic, cautious and conforming with principles. Once the foundation is firmly established, progress can be continually, carefully and economically promoted. This approach will prevent incurring mistakes and failures, and lead to the certain and complete achievement of the objectives."
—Bhumibol's speech at Kasetsart University Commencement Ceremony on 19 July 1974.
          The government of Plaek Pibulsonggram (1951–1957) limited Bhumibol to a ceremonial role. During that period Bhumibol produced some films and operated a radio station from Chitlada Palace using his own personal funds.
In the military governments of Sarit Dhanarajata and his successors (1958–1980), Bhumibol was re-portrayed as the "Development King" and the inspiration of the economic and political goals of the regime. Royally-ordered projects were implemented under the financial and political support of the government, including projects in rural areas and communities under the influence of the Communist Party of Thailand. Bhumibol's visits to these projects were heavily promoted by the Sarit government and broadcast on the state-controlled media.

         During the governments of General Prem Tinsulanond (1981–1987), the relationship between the Thai state and the monarch was at its closest. Prem, later to become President of Bhumibol's Privy Council, officially allocated government budgets and manpower to support royal projects. Most activities in this period involved the development of large scale irrigation projects in rural areas.
         During the modern period (post-1988), the structured development of the Royal Projects reached its apex. Bhumibol's Chaipattana Foundation was established, promoting his "sufficiency economy"theory, an alternative to the export-oriented policies adopted by the period's elected governments. Following the 2006 coup, establishment of a "sufficiency economy" was enshrined in the constitution as being a primary goal of the government, and government financial support for royal projects boomed.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น