วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระราชกรณียกิจ ด้านการศึกษา

 พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เพื่อสนับสนุนทางด้านคัดเลือกบัณฑิตในสาขาวิชาต่าง ๆ ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อจะได้ให้บัณฑิตเหล่านั้นนำความรู้ที่ได้ไปศึกษาวิจัยนำผลงานที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยพระองค์ออกทุนให้ตลอดจนดูแลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในต่างประเทศนั้น ๆ อีกด้วย
ส่วนในประเทศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการจัดการบริหารทางการศึกษา แบบให้เปล่าตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในลักษณะทั้งอยู่ประจำและไปกลับ แบ่งเป็น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 26 โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำนวน 14 โรงเรียน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์ ตัวอย่างเช่น
  • มูลนิธิชัยพัฒนา
  • มูลนิธิโครงการหลวง
  • โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
  • โครงการหลวงอ่างขาง
  • โครงการปลูกป่าถาวร
  • โครงการแก้มลิง
  • โครงการฝนหลวง
  • โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
  • โครงการแกล้งดิน
  • กังหันชัยพัฒนา
  • แนวพระราชดำริ ผลิตแก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์ (พ.ศ. 2528)
  • แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง
  • เพลงพระราชนิพนธ์
  • พระสมเด็จจิตรลดา
  • เป็นต้น

มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นมูลนิธิซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้
การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และ ประสานงานให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการของรัฐถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เช่นในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วน แต่รัฐมีปัญหางบประมาณ หรือถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ มูลนิธิชัยพัฒนาจะช่วยเหลือตามความเหมาะสม เพื่อให้โครงการนั้นดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มแรกในการจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา และผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบ
มูลนิธิชัยพัฒนาก่อตั้งเมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 109 วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งนายกมูลนิธิ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานบริหารมูลนิธิ โดยมี นายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นเลขาธิการมูลนิธิ และมีอาคารสำนักงานตั้งอยู่ภายในสวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด ซึ่งเดิมเคยเป็นสถานที่ตั้งโรงสุราบางยี่ขัน มาก่อน

โครงการหลวง (Royal project) เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะประธานมูลนิธิโครงการหลวง
ในระยะแรก เป็นโครงการอาสาสมัคร โดยมีอาสาสมัคร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกองทัพอากาศ ปัจจุบันโครงการหลวง ดำเนินงานใน 4 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน มีสถานีวิจัยหลัก 4 สถานี และสถานีส่งเสริมปลูกพืชทดแทนฝิ่น เรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการ จำนวน 21 ศูนย์ และหมู่บ้านพัฒนาอีก 6 หมู่บ้าน รวมหมู่บ้านในเขตปฏิบัติการทั้งสิ้น 267 หมู่บ้าน
ผลผลิตจากโครงการหลวงในปัจจุบัน ประกอบด้วย ผักปลอดภัยสารพิษ สมุนไพร ถั่วและธัญพืช ผลไม้ เห็ด ดอกไม้เมืองหนาว ผลิตผลปศุสัตว์ ผลิตผลประมง ผลิตผลป่าไม้ ดอกไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์จากแฝก ไม้กระถาง และผลิตภัณฑ์แปรรูปในชื่อการค้า โครงการหลวงและ ดอยคำ

แก้มลิง เป็นการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ (detention basin) เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ปัจจุบันมีพื้นที่แก้มลิงขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ เหนือท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกำหนดในผังการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่เขียวลาย ไม่เหมาะกับการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีแก้มลิงเล็กใหญ่กระจายอยู่ทั่ว กรุงเทพ กว่า 20 จุด
โครงการแก้มลิง มีแนวคิดจากการที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มไว้ได้คราวละมากๆ พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือ เต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"
ในโครงการ มีการวางแผนพื้นที่แก้มลิงอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานต่างๆ เช่น กทม. กรมชลประทาน เป็นต้น แก้มลิงมี 3 ขนาด จากใหญ่ กลาง เล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อการชะลอน้ำก่อนที่จะจัดการระบายออกในเวลาต่อมา สามารถเป็นได้ทั้งพื้นที่ของรัฐและเอกชน

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศและสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ( Gasohol) (สะกดตามราชบัณฑิตยสถานว่า แกโซฮอล) หรือที่นิยมเรียกว่า E10 คือน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ที่เกิดจากการผสมระหว่าง น้ำมันเบนซิน 90% กับ แอลกอฮอล์ 10% (ได้แก่ เอทานอล) ในภาษาอังกฤษไม่เรียกน้ำมันเชื้อเพลิงว่า เบนซิน แต่จะเรียกว่า แก๊สโซลีน (Gasoline) ดังนั้น จึงเป็นที่มาของคำศัพท์ว่า แก๊สโซฮอล์ นั่นคือ Gasoline + alcohol
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันเบนซิน น้ำมันผสมชนิดนี้มีใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก ข้อดีของแก๊สโซฮอล์คือ การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีของแอลกอฮอล์ ทำให้ลดมลพิษในอากาศ และในขณะเดียวกันราคาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีราคาต่ำกว่า น้ำมันเบนซินโดยทั่วไป
สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นมีองค์ประกอบต่างกับน้ำมันเบนซิน คือน้ำมันเบนซินมี เอมทีบีอี (MTBE) เป็นตัวเพิ่มออคเทน ส่วนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ใช้เอทานอล เป็นตัวเพิ่มออคเทน เอทานอลให้พลังงานน้อยกว่าเอมทีบีอี (MTBE) โดยต่างกันอยู่ร้อยละ 1.6-1.8 การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นออกซิเจนที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในเอทานอล จะช่วยให้การเผาไหม้ภายในห้องเครื่องสมบูรณ์ขึ้นอีก และลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จะปล่อยออกมาจากท่อไอเสีย
He also ordered The establishment of Ananda Mahidol Foundation To honor King Ananda Mahidol . Recruited to support graduates in various disciplines to study abroad. To give graduates the knowledge that her research contributions that have led to developing countries continues. By him as well -funded care about being in a foreign country as well.The country had graciously . The government is taken over the management of education. Grant grade level . Until high school Both sedentary in nature and goes back into Number 26 School Winner Rajaprajanugroh 14 school.King has assembled royal duties over the past 60 years of his reign, for example.
The philosophy of Sufficiency Economy
The chief proponent of localism in Thailand or moso (Moderation society) is King Bhumibol Adulyadej's "the philosophy of Sufficiency Economy". The foundations of King Bhumibol's theory included sustainability, moderation and broad-based development. The Learning Centre of King Bhumibol’s Philosophy of Economic Sufficiency claimed the concept focused on living a moderate, self-dependent life without greed or overexploitation of, for example, natural resources.
According to a leaked top secret telegraph from the US Ambassador in Thailand to the US Secretary of State, the tenets of Sufficiency Economy are "vague and malleable" and its popularity stems from “public reluctance to criticize anything associated with the revered King.”
After a coup d'état, the military junta claimed that the policies of deposed Prime Minister Thaksin Shinawatra were inconsistent with the theory. The preamble of the junta's new constitution stated that promotion of self-sufficiency was one of the fundamental roles of the state.
The Junta-appointed Prime Minister Surayud Chulanont pledged to allocate 10 billion baht (almost US$300 million) for projects to promote well-being in line with King Bhumibol's Sufficiency Economy principle. He made the pledge while participating in King Bhumibol's 80th birthday celebrations.
In 2007, the Democrat Party-run Bangkok Metropolitan Administration gave away a million baht to each city community that joined the ”Self-sufficiency Community Plan According to His Majesty the King’s Self-sufficiency Initiative.”
Foreigners were, for the most part, left confused. After a meeting with Ministry of Finance officials where the need for more sufficiency was explained, Standard & Poor's director of sovereign ratings noted, "No one knows what [sufficiency economy] really means." The Asia Times noted that "There is a concurrent risk that the royal philosophy will be twisted by less scrupulous government officials as an opportunity to abuse their authority for rent-seeking and extortion, particularly among foreign-invested concerns". NGO activists hoping to use Sufficiency Economy theory to oppose the construction of large-scale dams were sharply criticized by Bhumibol, a long-time advocate of dam construction, who claimed that the deforestation caused by dams was necessary to provide consistent energy and water sources for farmers.
Gasoline
Several common ethanol fuel mixtures are in use around the world. The use of pure hydrous or anhydrous ethanol in internal combustion engines(ICEs) is only possible if the engines are designed or modified for that purpose. Anhydrous ethanol can be blended with gasoline (petrol) in various ratios for use in unmodified gasoline engines, and with minor modifications, can also be used with a higher content of ethanol.
Ethanol fuel mixtures have "E" numbers which describe the percentage of ethanol fuel in the mixture by volume, for example, E85 is 85% anhydrousethanol and 15% gasoline. Low-ethanol blends, from E5 to E25, are also known as gasohol, though internationally the most common use of the term refers to the E10 blend.
Blends of E10 or less are used in more than 20 countries around the world, led by the United States, where ethanol represented 10% percent of the U.S. gasoline fuel supply in 2011. Blends from E20 to E25 have been used in Brazil since the late 1970s. E85 is commonly used in the U.S. and Europe forflexible-fuel vehicles. Hydrous ethanol or E100 is used in Brazilian neat ethanol vehicles and flex-fuel light vehicles and in hydrous E15 called hE15 for modern petrol cars in the Netherlands.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น